สรุปวิจัย
เรื่อง : ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ

ปริญญานิพนธ์ : วราภรณ์ วราหน                                                                                

         เสนอต่อบัญฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย สิงหาคม 2556  

               

 ภูมิหลัง   

👉 จากการเรียนของเด็กไทยพบว่าความสามารถของเด็กไทยในด้านการคิดคำนวณ มีคะเเนนเฉลี่ยต่ำสุด เนื่องจากการสอนที่ใช้วิธีการสอนในรูปสัญลักษณ์ คือ สอนด้วยการใช้วาจา และใช้ภาษาเขียน การอนแบบเก่าเป็นการสอนที่พยายามยัดเยียดโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ให้เเก่เด็กอย่างเป็นทางการมากกว่า การเปิดโอกาสให้เด็กสร้างความรู้ด้วยตนเองจากการทำกิจกรรม


   ความมุ่งหมาย   

 👉เพื่อศึกษาระดับเเละเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐม ก่อนเเละหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ


  ความสำคัญ   

👉เป็นเเนวทางให้ครูเเละผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย ได้ตระหนักเเละเข้าใจถึงความสำคัญในการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์กับเด็กปฐมวัย เละสามารถนำการปั้นกระดาษไปใช้ได้จริง เเละสามารถนำผลการวิจัยไปใช้พัฒนาเด็กปฐมวัยได้

ขอบเขตของการวิจัย    

👉 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย 

เด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 5 - 6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555  โรงเรียนวัดนิมมานรดี สำนักงานเขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยมีจำนวน 8 ห้องเรียน รวมจำนวนนักเรียน ทั้งหมด 216 คน    

👉 
กลุ่มตัวอย่างการวิจัย

เด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 5 - 6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555  โรงเรียนวัดนิมมานรดี สำนักงานเขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่ได้มาโดยวิธีการเลือเเบบเจาะจง เลือกห้องเรียน
ชั้นอนุบาลปีที่ 2  มา 1 ห้องเรียน  

👉 ระยะเวลาในการทดลอง
ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555  ระยะเวาในการทดลอง 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ 1 ครั้งๆ ละ 30 นาท

👉 
ตัวแปรที่ศึกษา

1. ตัวเเปรอิสระ ได้เเก่ การจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ                                                       

2. ตัวเเปรตาม ได้เเก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์                                        

2.1 การรู้ค่าจำนวน                                                    

2.2 การเปรียบเทียบ                       

2.3 การเรียงลำดับ                                                       

2.4 การจัดหมวดหมู่ 

  สมมติฐานในการวิจัย                        
👉
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง


  เครื่องมือที่ใช้  
👉เเผนการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ เเละเเบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

  คู่มือการใช้เเผนการจัดกิจกรรมการปั้น  

      

  แผนการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ  



        



  คู่มือดำเนินการทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  





  เเบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  


 ตัวอย่างภาพกิจกรรมการปั้นกระดาษเเละผลงานนักเรียน  

สรุปผลการวิจัย
1. ผลการเปรียบเทียบเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านหลังจากจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1
2. ผลการศึกษาระดับและการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ มีดังนี้
          2.1 เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ก่อนการทดลองโดยรวม และรายด้าน ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง หลังการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษเด็กปฐมวัย มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ คือ การรู้ค่าจำนวน การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ และการเรียงลำดับ ทั้งโดยรวมและรายด้าน อยู่ระดับสูง
          2.2 การจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษทำให้เด็กปฐมวัย มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 61.59 ของความสามารถพื้นฐานเดิม โดยมีทักษะด้านการเรียงลำดับ เพิ่มขึ้นมากเป็นลำดับแรก รองลงมาคอ ด้านการจัดหมวดหมู่ การเปรียบเทียบและการรู้ค่าจำนวน ตามลำดับ