บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.

ความรู้ที่ได้รับ 

             กิจกรรมที่ 1   วันนี้เพื่อนนำเสนอบทความ วิจัย เเละตัวอย่างการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย

                                                   ภาพการนำเสนอบทความ

  👉 คนเเรกที่ออกไปนำเสนอคือ น.ส.สุภาวดี ปานสุวรรณ  นำเสนอบทความเรื่อง "คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย" การจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5  ในการกระทำต่อวัตถุ เเละได้เล่นอย่างอิสระ จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ รอบตัว เเละการจัดการเรียนรู้ ครูต้องวางเเผนมาเป็นอย่างดี  ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย


ภาพการนำเสนอวิจัย

 👉 คนที่ 2 ออกไปนำเสนอคือ น.ส.วิภาพร จิตอาคะ นำเสนอวิจัยเรื่อง "การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้การละเล่นพื้นบ้านของไทยในชั้นอนุบาล 1"  ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยมีความชอบ เเละมีความสุขสนุกสนาน เพลิดเพลิน มีความกระตือรือร้น เเละสนใจที่จะเล่น ส่วนการประเมินพัฒนาก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 17.66 คิดเป็นร้อยละ 58.89 เเละคะเเนนเฉลี่ยของการประเมินพัฒนาการหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 25.83 คิดเป็นร้อยละ 86.11 เเสดงให้เห็นว่าการจัดประสบการณ์โดยใช้การละเล่นพื้นบ้านของไทยนั้น ช่วยให้เด็กมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ได้ดีขึ้น


ภาพการนำเสนอตัวอย่างการสอน

 👉 คนที่ 3 ออกไปนำเสนอคือ น.ส.อุไรพร  พวกดี นำเสนอตัวอย่างการสอนเรื่อง "เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์"  ครูจอยได้นำเทคนิคการสอนมาเล่าสู่กันฟัง ในรายการ Talk about kids เกี่ยวกับการคณิตศาสตร์ในเด็กอนุบาล โดยให้เด็กเรียนรู้ผ่านสีสัน รูปทรง เเละเกมส์ต่างๆ 

             กิจกรรมที่ 2   หลังจากที่เพื่อนนำเสนอครบทั้ง 3 คนเเล้ว อาจารย์ได้เเจกกระดาษคนละ 1 เเผ่น กระดาษเหลือ 5 เเผ่น เเสดงว่าจำนวนกระดาษมากว่าจำนวนคนอยู่ 5 อาจารย์จึงเขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ดังนี้

                     
                                     โดยที่การส่งกระดาษเป็นการจับคู่ 1:1 คือ 1 คน ต่อ 1 เเผ่น

            กิจกรรมที่ 3  ต่อมาอาจารย์ยกตัวอย่างการทำกราฟ สำรวจความชอบทานอาหารอีสานระหว่างส้มตำกับลาบไก่  โดยให้นักศึกษาออกมาใส่เครื่องหมายตามฝั่งที่ตนเองชอบ โดยการจับคู่เเบบ 1:1 โดยการหาว่าฝั่งไหนคนทานมากกว่า ฝั่งไหนคนทานน้อยกว่า



การจับคู่ 1:1 คือ 1 คน ต่อ 1 เพื่อเอามาเปรียบเทียบหาจำนวนที่มากกว่า 
เเละจำนวนที่น้อยกว่ากัน

            กิจกรรมที่ 4  ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาตอบคำถาม เราใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง 


  ภาพกิจกรรม

             กิจกรรมที่ 5   อาจารย์ให้นักศึกษาฟังจังหวะดนตรีเเละทำท่าทางประกอบ

ขั้นที่ 1 ตบมือไปตามจังหวะดนตรี
ขั้นที่ 2 ตบมือ 1 จังหวะ เเละทำท่าประกอบ 1 จังหวะ
ขั้นที่ 3 ตบมือ 1 จังหวะ เเละทำท่าประกอบ 2 จังหวะ 
ขั้นที่ 4 ตบมือ 1 จังหวะ เเละทำท่าประกอบ 3 จังหวะ
              ต่อมาอาจารย์ให้วาดรูปสัญลักษณ์เเทนจังหวะของดนตรี คือ 🔺 เเทน 1 จังหวะ เเละให้เขียดช่องเพื่อเเบ่งจังหวะของช่องเพลง จึงเขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ดังนี้


                                                                    ภาพกิจกรรม

→ ทักษะที่ได้รับ
    - คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก ครูควรคิดหาเเนวทาง เพื่อให้เด็กเข้าใจคณิตศาสตร์ได้ง่ายเเละสนุกกับคณิตศาสตร์มากยิ่งขึ้น
→ การนำไปใช้ประโยชน์
     - การทำกราฟ มันสะท้อนให้เด็กได้เห็นถึง เเนวคิดของมากกว่า น้อยกว่า
→ คุณธรรม จริยธรรม
     - การตรงต่อเวลา
      - การไม่ลอกเเบบหัดเพื่อน

การประเมินผล
ประเมินตัวเอง :  วันนี้ตั้งใจทำกิจกรรมเเละตอบคำถามดี
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆ ทุกคน  ตั้งใจฟังเเละทำกิจกรรมกันดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนดี มีเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย