บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.

ความรู้ที่ได้รับ 

             กิจกรรมที่ 1   วันนี้เพื่อนนำเสนอบทความ วิจัย เเละตัวอย่างการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย


                                                   ภาพการนำเสนอบทความ

  👉 คนเเรกที่ออกไปนำเสนอคือ น.ส.สิริวดี  นุเรศรัมย์  นำเสนอบทความเรื่อง "สอนคณิตศาสตร์จากชีวิตรอบตัว" 

- สอนคณิตศาสตร์จากชีวิตรอบตัว
1. สอนเรื่องตัวเลข เช่น น้ำหนัก - ส่วนสูง, ทะเบียนรถ, ปฏิทิน, นาฬิกา
2.สอนเรื่องขนาด ปริมาณ น้ำหนัก ส่วนสูง เช่น การเปรียบเทียบความสูงเพื่อนในห้องเรียน โดยใช้เครื่องวัดที่เป็นทางการ
3.สอนเรื่องรูปทรงต่างๆ เช่น พ่อเเม่อธิบายรูปทรงต่างๆ ของ ของใช้ภายในบ้าน
4.สอนเรื่องตำแหน่ง ซ้าย - ขวา เช่น  ลูกสามารถบอกตำเเหน่งของสิ่งของภายในบ้านได้
5.สอนเรื่องกลางวัน - กลางคืน เช่น สอนเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน
6.สอนเรื่องวัน เดือน ปี เช่น สอนเกี่ยวกับวันสำคัญต่าง ๆ
7.สอนเรื่องการเพิ่ม - ลด เช่น การปลูกต้นไม้ 
8.สอนเรื่องการใช้เงิน เช่น การออมเงิน


ภาพการนำเสนอบทความ

 👉 คนที่ 2 ออกไปนำเสนอคือ น.ส.สุพรรณิการ์  สุขเจริญ  นำเสนอบทความเรื่อง "สอนลูกเรื่อง จำนวน การนับ เเละตัวเลข" 

💫สิ่งสำคัญของการสอนเรื่องจำนวน การนับ เเละตัวเลข 

ตัวอย่างกิจกรรมที่พ่อเเม่ทำร่วมกับลูก เพื่อฝึกการนับจำนวนเเละตัวเลข
- การจัดบรรยากาศภายในบ้าน เช่น ป้ายเลขที่บ้าน, นาฬิกา, ปฏิทิน
- การเล่นเกมนับอวัยวะ เช่น แขนมี 2 ข้าง, จมูกมี 1 อัน
- การเล่านิทานที่มีตัวละครเยอะๆ เช่น นางสิบสอง, คนเเคระทั้งเจ็ด 


ภาพการนำเสนอวิจัย

 👉 คนที่ 3 ออกไปนำเสนอคือ น.ส.สุภาภรณ์  วัดจัง  นำเสนอวิจัยเรื่อง "การใช้กิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ การบอกค่าจำนวน 1 - 5 ของนักเรียนชั้นอนุบาล"  

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
1.แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง รถยนต์สุดหรูและเครื่องบินลำน้อย
2.แบบทดสอบเกมการศึกษาการบอกจำนวนค่า 1 - 5
3.แบบสอบถามความพึงพอใจ
วิธีการทดลอง
1.นำแผนจัดการเรียนรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
2.นำแบบทดสอบเกมการศึกษาการบอกจำนวนค่า 1 - 5 ไปทดลองใช้กับเด็ก
3.แบบสอบถามความพึงพอใจในการเล่นเกมการศึกษา โดยผู้วิจัยเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง
ผลการวิจัย พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์การบอกค่าจำนวน 1 - 5 มีความชอบเป็นอย่างมาก
กระบวนการเรียนรู้ของไฮสโคป มี 3 ขั้น ดังนี้
1. Plan คือ การวางแผน
2. Do คือ การปฏิบัติลงมือกระทำ
3. Reviwe คือ ทบทวนสิ่งที่ทำ

             กิจกรรมที่ 2   หลังจากที่เพื่อนนำเสนอครบทั้ง 3 คนเเล้ว อาจารย์ให้จับคู่ ทำสื่อคณิตศาสตร์จากเศษวัสดุเหลือใช้จากถาดไข่ คู่ละ 1 ชิ้น



ภาพการเค้าโครงร่างวิธีการทำสื่อคณิตศาสตร์
                                           


→ ทักษะที่ได้รับ
    - การทำงานร่วมกับผู้อื่น
    - การเห็นค่าของเศษวัสดุเหลือใช้
→ การนำไปใช้ประโยชน์
     - การนำเศษวัสดุเหลือใช้ มาทำสื่อการเรียนการสอน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
→ คุณธรรม จริยธรรม
     - การตรงต่อเวลา
      - ตวามรับผิดชอบ

การประเมินผล
ประเมินตัวเอง :  วันนี้ช่วยเพื่อนคิดสื่อคณิตศาสตร์ เพื่อนำเสนออาจารย์
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆ ทุกคน  ตั้งใจคิดสื่อของตนเองดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ก็ให้คำเเนะนำเกี่ยวกับการปรับแก้ไขสื่อให้เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก