สรุปวิจัย
เรื่อง : ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ

ปริญญานิพนธ์ : วราภรณ์ วราหน                                                                                

         เสนอต่อบัญฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย สิงหาคม 2556  

               

 ภูมิหลัง   

👉 จากการเรียนของเด็กไทยพบว่าความสามารถของเด็กไทยในด้านการคิดคำนวณ มีคะเเนนเฉลี่ยต่ำสุด เนื่องจากการสอนที่ใช้วิธีการสอนในรูปสัญลักษณ์ คือ สอนด้วยการใช้วาจา และใช้ภาษาเขียน การอนแบบเก่าเป็นการสอนที่พยายามยัดเยียดโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ให้เเก่เด็กอย่างเป็นทางการมากกว่า การเปิดโอกาสให้เด็กสร้างความรู้ด้วยตนเองจากการทำกิจกรรม


   ความมุ่งหมาย   

 👉เพื่อศึกษาระดับเเละเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐม ก่อนเเละหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ


  ความสำคัญ   

👉เป็นเเนวทางให้ครูเเละผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย ได้ตระหนักเเละเข้าใจถึงความสำคัญในการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์กับเด็กปฐมวัย เละสามารถนำการปั้นกระดาษไปใช้ได้จริง เเละสามารถนำผลการวิจัยไปใช้พัฒนาเด็กปฐมวัยได้

ขอบเขตของการวิจัย    

👉 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย 

เด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 5 - 6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555  โรงเรียนวัดนิมมานรดี สำนักงานเขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยมีจำนวน 8 ห้องเรียน รวมจำนวนนักเรียน ทั้งหมด 216 คน    

👉 
กลุ่มตัวอย่างการวิจัย

เด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 5 - 6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555  โรงเรียนวัดนิมมานรดี สำนักงานเขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่ได้มาโดยวิธีการเลือเเบบเจาะจง เลือกห้องเรียน
ชั้นอนุบาลปีที่ 2  มา 1 ห้องเรียน  

👉 ระยะเวลาในการทดลอง
ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555  ระยะเวาในการทดลอง 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ 1 ครั้งๆ ละ 30 นาท

👉 
ตัวแปรที่ศึกษา

1. ตัวเเปรอิสระ ได้เเก่ การจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ                                                       

2. ตัวเเปรตาม ได้เเก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์                                        

2.1 การรู้ค่าจำนวน                                                    

2.2 การเปรียบเทียบ                       

2.3 การเรียงลำดับ                                                       

2.4 การจัดหมวดหมู่ 

  สมมติฐานในการวิจัย                        
👉
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง


  เครื่องมือที่ใช้  
👉เเผนการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ เเละเเบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

  คู่มือการใช้เเผนการจัดกิจกรรมการปั้น  

      

  แผนการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ  



        



  คู่มือดำเนินการทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  





  เเบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  


 ตัวอย่างภาพกิจกรรมการปั้นกระดาษเเละผลงานนักเรียน  

สรุปผลการวิจัย
1. ผลการเปรียบเทียบเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านหลังจากจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1
2. ผลการศึกษาระดับและการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ มีดังนี้
          2.1 เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ก่อนการทดลองโดยรวม และรายด้าน ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง หลังการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษเด็กปฐมวัย มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ คือ การรู้ค่าจำนวน การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ และการเรียงลำดับ ทั้งโดยรวมและรายด้าน อยู่ระดับสูง
          2.2 การจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษทำให้เด็กปฐมวัย มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 61.59 ของความสามารถพื้นฐานเดิม โดยมีทักษะด้านการเรียงลำดับ เพิ่มขึ้นมากเป็นลำดับแรก รองลงมาคอ ด้านการจัดหมวดหมู่ การเปรียบเทียบและการรู้ค่าจำนวน ตามลำดับ

บทความ

เรื่อง เตรียมพร้อมคณิตศาสตร์ตั้งแต่ก้าวเเรก...ของลูกน้อย 👶



เทคนิคดีๆ แนะนำพ่อเเม่พาทำกิจกรรมเสริมความสุข...พัฒนาคณิตศาสตร์


👼ทักษะทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็นสำหรับลูกน้อยก่อนเข้าสู่โรงเรียน
👉การสังเกตสิ่งของเหมือนกันหรือต่างกัน
         โดยสอนให้เด็ก ๆ สังเกตวัตถุหรือสิ่งของทีเหมือนกัน ตามขนาด รูปร่าง สี เช่น ให้เด็กดูสิ่งที่พบเห็น เช่น เครื่องใช้ของเด็กโดยให้เด็กสังเกตว่ามีอะไรที่เหมือนกันบ้าง หรือเเตกต่างกันบ้าง
👉การเปรียบเทียบสิ่งของชนิดเดียวกันหรือต่างกัน
         โดยสอนให้เด็ก ๆ เปรียบเทียบสิ่งของหรือวัตถุ 2 ชิ้น ตามขนาด ความยาว ความสูง น้ำหนัก เช่น ใหญ่ - เล็ก, ยาว - สั้น, เตี้ย - สูง, หนัก - เบา ซึ่งในการสอนเเรก ๆ ควรใช้สิ่งของหรือวัตถุชนิดเดียวกันก่อน เมื่อเด็กทำได้ดีเเล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสิ่งของหรือวัตถุที่เเตกต่างกัน 
👉การจัดลำดับสิ่งของ
         โดยสอนให้เด็ก ๆ จัดลำดับสิ่งของหรือวัตถุตั้งเเต่ 3 ชิ้นขึ้นไป ตามขนาด ความยาว ความสูง น้ำหนัก เช่น เรียงลำดับจากใหญ่ที่สุดไปจนเล็กที่สุด หรือยาวที่สุดไปตนสั้นที่สุด เป็นต้น
👉การวัด 
          สอนเด็กให้หาความยาว ความสูง เเละน้ำหนักของวัตถุโดยใช้หน่วยวัด เช่น นิ้ว ฟุต ปอนด์หรือการจับเวลา (เป็นนาที)
👉การนับ
        โดยสอนให้เด็ก ๆ จับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง เปรียบเทียบของสองกลุ่ม ให้เข้าใจความหมายของเท่ากัน ไม่เท่ากัน มากกว่า น้อยกว่า นับเลขปากเปล่าไปข้างหน้า ถอยหลัง สอนนับจำนวน เช่น นับจำนวนอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย หรือนับจำนวนสมาชิกภายในบ้าน เป็นต้น
👉รูปทรงเเละขนาด
        โดยสอนให้เด็กรับรู้ความสัมพันธ์ของรูปร่าง รูปทรง ขนาด พื้นที่ ตำเเหน่ง ทิศทางเเละการเคลื่อนไหว ซึ่งเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานสำหรับวิชาเรขาคณิตต่อไป ชวนเด็กพูดคุยถึงสิ่งของในบ้านว่ามีรูปร่าง รูปทรง เป็นอย่างไร
👉การจัดหมู่
        โดยสอนให้เด็กจัดสิ่งของเป็นหมวดหมู่ตามการเรียกชื่อสิ่งของ เช่น กองนี้เป็นช้อน กองนี้เป็นเเก้วน้ำ และการจัดหมวดหมู่ตามลักษณะที่กำหนด เช่น กองนี้เป็นเครื่องเเต่งกาย กองนี้เป็นผลไม้ เป็นต้น
👉การรวมหมู่
        โดยสอนให้เด็กนำสิ่งของมารวมกันให้เป็นกองใหญ่ขึ้น มีจำนวนมากขึ้น เช่น มีส้มอยู่ 3 ผล นำมารวมกับชมพู่ 2 ผล รวมทั้งส้มเเละชมพู่เเล้วมี 5 ผล เป็นต้น
 👉การเเยกหมู่
         โดยสอนให้แยกของที่กองรวมกันอยู่มาแยกของที่เหมือนกันเป็นกอง ๆ เช่น มีของเล่น 2 ชนิด กองรวมกันไว้ แล้วให้เด็กแยกของเล่นที่เหมือนกันออกเป็น 2 กอง เป็นต้น

สรุปได้ว่า
        คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวันของเด็ก เพราะเด็กจะได้ใช้ทักษะนี้ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและกิจกรรมต่าง ๆ ที่พ่อเเม่ทำร่วมกับเขา เช่น การนับขั้นบันไดที่เด็กขึ้นลง การแบ่งของเล่นหรือขนมให้กับเพื่อน การพัฒนาทักษะโดยผ่านกิจกรรมเหล่านี้ ล้วนมีความสำคัญต่อความพร้อมของเด็กในการเข้าสู่โรงเรียน ทำให้เด็กสามารถแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในโรงเรียนได้

ที่มา : http://rajanukul.go.th/new/index.php?mode=academic&group=323&id=3504&date_start=&date_end=



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.

ความรู้ที่ได้รับ 

       กิจกรรมที่ 1   วันนี้เพื่อนนำเสนอบทความ เเละตัวอย่างการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย

                                                   ภาพการนำเสนอบทความ

  👉 คนเเรกที่ออกไปนำเสนอคือ น.ส.วสุธิดา  คชชา  นำเสนอบทความเรื่อง "สอนคณิตศาสตร์อย่างไรให้สนุก (สำหรับเด็กปฐมวัย)" คือ จัดการเรียนรู้ ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น ได้สัมผัสกับสิ่งต่างๆ เพื่อให้เด็กเกิดการจดจำที่ยาวนาน ให้เด็กเกิดความสนุกสนาน ไม่เครียดไปพร้อมกับเนื้อหาที่ต้องเรียนรู้ โดยเอาคณิตศาสตร์มาบูรณาการผ่านกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง "ดอกไม้" โดยให้เด็กเรียนรู้ในเรื่องของการจำเเนกสิ่งต่างๆ เช่น ชนิด สี กลิ่นของดอกไม้ เเละครูเปิดโอกาสให้เด็กเล่าหรือวาดภาพ โดยมีครูคอยให้กำลังใจ

 ⏩หลักการสอน   จากที่หลักสูตรกำหนด สาระการเรียนรู้ไว้ 4 เรื่อง คือ                                                         

1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก                                                                                                             

2. บุคคลเเละสถานที่                                                                                                                     

3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก                                                                                                                 

4. สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก                                                                                           

 วิธีการเลือกสอนที่เกิดจากครู                                                                                                                    

1. สอนเรื่องใกล้ตัวเด็ก                                                                                                                  

2. สอนเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็ก                                                                             

 วิธีการเรียนรู้ของเด็ก   คือ การเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการลงมือกระทำต่อวัตถุ เเละได้เล่นอย่างอิสระ 

ภาพการนำเสนอตัวอย่างการสอน

 👉 คนที่ 2  ออกไปนำเสนอคือ น.ส.กิ่งเเก้ว  ทนนำ นำเสนอตัวอย่างการสอนเรื่อง "รูปทรงเเปลงร่าง"  รายการโทรทัศน์เพื่อเด็กปฐมวัย ป.ปลา ตากลม

➢  หลักการ  คือ ถามประสบการณ์เดิมของเด็ก เกี่ยวกับเรื่องใกล้ตัวเด็ก เเละให้เด็กหลับตาโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 จากนั้นเมื่อเด็กได้รูปทรง ก็ให้เด็กเอารูปทรงไปสร้างชิ้นงานของตัวเองเป็นรูปต่างๆ ตามความจินตนาการของตัวเอง

➢  วิธีการสอน                                                                                                                                   

1. ครูควรหากล่องใส่อุปกรณ์ต่างๆ                                                                                                

2. เเจกกระดาษให้เด็กหยิบเอง                                                                                                      

3. การใช้กาว ครูควรหาไม้ในการทากาว                                                                       

➢  ประโยชน์                                                                                                                                     

1. เด็กรู้จักสังเกตเเละเเก้ไขปัญหา                                                                                                  

2. เด็กได้ฝึกคิดค้นประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ตามความจินตนาการของตัวเอง                                          

3. การเล่น เป็นการเล่นเป็นการเปิดโอกาสให้เด็ก ค้นพบวิธีการหาความรู้                         

➢  สรุป   การเรียนรู้เรื่องรููปทรง จะเป็นบทเรียนหนึ่งที่ส่งเสริมให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสสืบค้นความรู้ เพื่อตอบสนองความต้องการการเรียนรู้ตามวัย เด็กจะได้รับการปูนิสัยให้เป็นคนช่างคิด ช่างสังเกตเเละสามารถเเก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้


→ ทักษะที่ได้รับ
    - การสอนเด็กควรสอนจากเรื่องใกล้ตัวเด็ก เเละสอนจากเรื่องที่ง่าย ไปหาเรื่องที่ยาก
→ การนำไปใช้ประโยชน์
     - การนำหลักการเเละวิธีการสอนต่างๆ ไปใช้ในอนาคต
→ คุณธรรม จริยธรรม
     - การตรงต่อเวลา
      - การมีวินัยในตนเอง

การประเมินผล
ประเมินตัวเอง :  วันนี้ตั้งใจฟังเเละจดตามที่เพื่อนนำเสนองาน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆ ทุกคน  ตั้งใจฟังเเละช่วยกันตอบคำถามกันดี 
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนดี เเละยกตัวอย่างประกอบ  ทำให้เข้าใจยิ่งขึ้น