รูปเรขาคณิต 2มิติ กับ 3มิติ


👶 รูปเรขาคณิต 2 มิติ                                                     👶 รูปทรงเรขาคณิต 3 มิติ









รูปสามเหลี่ยม                                                                            พีระมิดรูปทรงสามเหลี่ยม






                                                             


  รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก                                                                        รูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก










  รูปห้าเหลี่ยม                                                                                       รูปทรงห้าเหลี่ยม











รูปหกเหลี่ยม                                                                                   พีระมิดรูปทรงหกเหลี่ยม





👉 ผลงานสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์จากวัสดุเหลือใช้ "ถาดไข่"👈







           👶 สรุป   จากงานนี้จะเห็นได้ว่าเด็กสามารถทำตามกติกา เเละปฏิบัติตามวิธีการเล่นได้  จากที่เด็กทำกิจกรรมได้อยู่เเล้ว เด็กก็สามารถทำได้ดียิ่งขึ้นไป เเละการเล่นเกมสื่อคณิตศาสตร์ก็จะช่วยให้เด็กพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้เเก่ ด้านร่างกาย -  เด็กสามารถพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก, ด้านอารมณ์  - เด็กได้เล่นอย่างอิสระ, ด้านสังคม - การเล่นเเละทำงานร่วมกับผู้อื่น,  เเละด้านสติปัญญา -  เด็กได้ทักษะทางการคิด ได้ฝึกคิด เเละฝึกเเก้ปัญหา โดยมีคุณครูเป็นผู้เเนะนำ เเละการเล่นเกมสื่อคณิตศาสตร์ ยังสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก (การเล่น) ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการลงมือกระทำต่อวัตถุและเด็กยังได้เล่นอย่างอิสระ




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.

หมายเหตุ วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากวันนี้เป็นวันที่สอบกลางภาค


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.

ความรู้ที่ได้รับ 

          💫  กิจกรรมที่ 1   วันนี้อาจารย์ทบทวนเรื่อง กรอบมาตราฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ทั้ง  6 สาระการเรียนรู้ และหลังจากนั้นเพื่อนๆ ก็นำเสนอบทความ วิจัย เเละตัวอย่างการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย

                                                   ภาพการนำเสนอวิจัย

  👉 คนเเรกที่ออกไปนำเสนอคือ น.ส.ชาณิศา  หุ้ยทั่น นำเสนอวิจัยเรื่อง "ทักษะพื้นฐานทางคณตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย" การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่ คือ การให้เด็กได้ลงมือกระทำเเละการให้เด็กได้เห็นของจริง ได้สัมผัส ได้หยิบจับ ได้ดู ไดชิม เเละได้ฟัง เพราะเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็ก มากว่าการใช้สายตาเพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้เด็กรู้จักคืดไตร่ตรองหาเหตุผล และสามารถเลือกเเนวทางการปฏิบัติอย่างถูกต้องด้วยตนเอง 


ภาพการนำเสนอวิจัย

 👉 คนที่ 2 ออกไปนำเสนอคือ น.ส.รัติยากร  ศาลาฤทธิ์ นำเสนอวิจัยเรื่อง "ทักษะทางคณิตศาสตร์การสังเกต การจำเเนก การเปรียบเทียบ" 

     -วัตถุประสงค์ 

1.เพื่อสร้างเเละพัฒนาชุดกิจกรรม เพื่อนำไปพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ในเรื่องการสังเกต การจำแนก เเละการเปรียบเทียบ โดยใช้เกมการศึกษา

2.เพื่อหาประสิทธิภาพในการใช้กิจกรรม ในการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
    -แผนการจัดกิจกรรมทักษะทางคณิตศาสตร์ จำนวน 20 ชม.
1. บ้านน่าอยู่ จำนวน 5 ชม.
2. สัตว์น่ารัก จำนวน 5 ชม.
3. อาชีพที่ควรรู้ จำนวน 5 ชม.
4.ฤดูกาล จำนวน 5 ชม.

สรุปได้ว่า นักเรียนที่ใช้กิจกรรมทักษะทางคณิตศาสตร์การสังเกต การจำเเนก การเปรียบเทียบมีความเข้าใจ เเละความสุขมากในการทำกิจกรรม

ภาพการนำเสนอวิจัย

 👉 คนที่ 3 ออกไปนำเสนอคือ น.ส.สุภาภรณ์  วัดจัง นำเสนอวิจัยเรื่อง "การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โดยใช้กิจกรรมเสรีตามเเนวคิดไฮสโคป"  การสอนเเบบไฮสโคป คือเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ ผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อเเละกิจกรรมที่เหมาะกับพัฒนาการของเด็กและการเเก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น

ภาพการนำเสนอตัวอย่างการสอน

👉 คนที่ 4 ออกไปนำเสนอคือ น.ส.วิจิตรา  ปาคำ นำเสนอตัวอย่างการสอนเรื่อง "กิจกรรมปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัวเด็ก"  เป็นการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ผ่านการบูรณาการทั้ง 6 กิจกรรม คือ 1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  2.กิจกรรมเสริมประสบการณ์  3.กิจกรรมสร้างสรรค์  4.กิจกรรมเสรี  5.กิจกรรมกลางแจ้ง  และ6.เกมการศึกษา 

     -เทคนิคการสอน
ดูจากสิ่งที่ใกล้ตัวเด็ก เด็กชอบร้องเพลง เล่นเกม คำคล้องจ้อง หรือการใช้สื่อต่างๆ
     -ประโยชน์
1.การใช้ชีวิตประจำวัน เรื่องการใช้เงิน เบอร์โทรศัพท์ เเละป้ายทะเบียนรถ
2. การนับตัวเลข

ภาพการนำเสนอวิจัย

👉 คนที่ 5 ออกไปนำเสนอคือ น.ส.ปรางทอง  สุริวงษ์  นำเสนอวิจัยเรื่อง "ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร"  

      -ประโยชน์
      ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ ด้านการวัด การกะปริมาณ การเปรียบเทียบ มากกว่า น้อยกว่า และจำนวนนับ
      -สรุปได้ว่า  การจัดกิจกรรมประกอบอาหารสามารถส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุก ๆ ด้านให้เเก่เด็กปฐมวัย

 👀 บรรยากาศภายในห้องเรียน 👀



→ ทักษะที่ได้รับ
    - การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์โดยผ่านการบูรณาการทั้ง 6 กิจกรรม 
→ การนำไปใช้ประโยชน์
     - การดึงดูดความสนใจเด็ก โดยการดูจากสิ่งที่ตัวเด็ก หรือสิ่งที่เด็กชอบ เช่น ร้องเพลง เล่นเกม คำคล้องจ้อง หรือการใช้สื่อต่างๆ มาใช้การดึงดูดความสนใจเด็กได้
→ คุณธรรม จริยธรรม
     - ความรับผิดชอบ
      - การมีส่วนร่วมกับผู้อื่น

การประเมินผล
ประเมินตัวเอง :  วันนี้ตั้งใจฟังและจดตามที่เพื่อนนำเสนองาน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆ ทุกคน  ตั้งใจฟังดี ไม่ส่งเสียงรบกวนเพื่อนตอนนำเสนองาน
ประเมินอาจารย์ : พอนักศึกษานำเสนองานเสร็จ อาจารย์ก็จะสรุปเเละอธิบายเนื้อหาให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.

ความรู้ที่ได้รับ 

👀สาระสำคัญทางณิตศาสตร์ 

       สาระสำคัญทางคณิตศาตร์เป็นหลักการที่ต้องการปลูกฝังให้แก่เด็ก ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของเเต่ละสาระ ในกรอบมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย และเพื่อให้เข้าใจตรงกัน จึงได้รวบรวมสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย ไว้ดังนี้

 🔺สาระที่ 1 จำนวนและการนับ 

เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตประจำวัน

 ตัวอย่าง  เช่น 

การเรียงลำดับจากจำนวนที่น้อยไปหาจำนวนที่มาก


 🔺สาระที่ 2 การวัด 

 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา

 ตัวอย่าง  เช่น การวัดความสูงของเพื่อนในห้องเรียน โดยใช้เครื่องมือที่เป็นทางการ



🔺สาระที่ 3 เรขาคณิต 

รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง และรู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการกระทำ
 ตัวอย่าง  เช่น การจำเเนกสิ่งของต่างๆ ตามรูปทรงเรขาคณิต







 🔺สาระที่ 4 พีชคณิต 


 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์

 ตัวอย่าง  เช่น การจัดลำดับเเบบอนุกรม





 🔺สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 

การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ

 ตัวอย่าง  เช่น การนำเเสนอเป็นแผนภูมิรูปภาพ เรื่อง ผลไม้ที่เด็กชอบกิน



 🔺สาระที่ 6 ทักษะเเละกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ครูควรสอดแทรกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามความเหมาะสมกับระดับอายุของเด็ก
 ตัวอย่าง  เช่น  แบบฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่อง การจัดหมดหมู่




 👉กิจกรรมที่ 1  อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษา เขียนกิจกรรมพร้อมอธิบายวิธีการสอน แต่ละสาระการเรียนรู้มาคนละ 1 กิจกรรม

 ภาพผลงาน

→ ทักษะที่ได้รับ
    - ด้านความคิดสร้างสรรค์ ในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับสาะการเรียนรู้เเละตัวเด็ก
→ การนำไปใช้ประโยชน์
     - สามารถนำกิจกรรมแต่ละสาระการเรียนรู้ ไปจัดการเรียนการสอนได้ตรงตามระดับอายุ
→ คุณธรรม จริยธรรม
      - ความรับผิดชอบ

การประเมินผล
ประเมินตัวเอง :  วันนี้มีการเเลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อน ในเรื่องที่เรียน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆ ทุกคน  ตั้งใจทำงานที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ทำดี เเละไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่นดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายได้ละเอียด พร้อมยกตัวอย่างประกอบด้วย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2561 เวลา 08:30 - 12:30 น.

ความรู้ที่ได้รับ 

              กิจกรรมที่ 1   วันนี้อาจารย์ขอดูความคืบหน้าของสื่อแผงไข่ ของแต่ละคู่ พร้อมบอกจุดบกพร่องที่ควรกับมาแก้ไขของเเต่ละคู่


                                             ภาพสื่อแผงไข่หรรษา


        กิจกรรมที่ 2   วันนี้เพื่อนนำเสนอวิจัย เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


                                                   ภาพการนำเสนอวิจัย

  👉  น.ส.สุจิณณา พาพันธ์ นำเสนอวิจัย เรื่อง "การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"

→ ขั้นตอนการจัดประสบการณ์การมี 6 ขั้น ดังนี้ (หน่วย เงิน)
  • ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความมั่นใจ
- ให้เด็กเขย่ากล่องและทายของที่อยู่ในกล่อง เมื่อเด็กทายเเล้วครูเปิดกล่อง  และครูตั้งคำถามปลายเปิดให้เด็กได้ตอบ
  • ขั้นที่ 2 วางแผน
- ให้เด็กจับกลุ่ม เเล้วคิดว่าจะขายอะไร ราคาเท่าไร
  • ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติกิจกรรม 
-ให้เด็กกลับไปเตรียมป้ายราคามาติด และนำสินค้ามาขาย
  • ขั้นที่ 4 ขั้นทบทวน
-สินค้ามีอะไรบ้าง ขายเมื่อไร ขายอะไรบ้าง
  • ขั้นที่ 5 นำเสนอ
-แต่ละกลุ่มขายอะไรได้บ้าง ขายได้รึป่าว 
  • ขั้นที่ 6 ประเมินผลการเรียนรู้
-แต่ละกลุ่มสรุป ยอดรวมของบัญชีให้เพื่อนดู 

               กิจกรรมที่ 3   อาจารย์นำโหลลูกเเก้วมาให้นักศึกษาดู เเละให้นักศึกษาคาดคะเนลูกแก้วในขวดโหลว่ากี่ลูก 


ทำให้เด็กได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ การคาดคะเนความน่าจะเป็น

 ซึ่งสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูล

และความน่าจะเป็น





กิจกรรมที่ 4  ต่อมาอาจารย์สอนเกี่ยวกับทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์

1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์

  • จำนวนนับ 1 ถึง 20
  • เข้าใจหลักการนับ เเละตัวเลข
  • รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย
  • รู้ค่าของจำนวน
  • เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
  • การรวมและการเยกกลุ่ม
2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
  • เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
  • รู้เงินเหรียญและธนบัตร
  • เข้าใจเกี่ยวกับเวลา และคำที่ใช้
3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับเรขาคณิต
  • ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
  • รูปเรขาคณิตสามมิติ และรูปเรขาคณิตสองมิติ
4. มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล และนำเสนอข้อมูลในรูปเเบบแผนภูมิอย่างง่าย
6. มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

→ ทักษะที่ได้รับ
    - การนำวัสดุเหลือมาทำประโยชน์
- การทำงานร่วมกับผู้อื่น
→ การนำไปใช้ประโยชน์
     - การนำวัสดุเหลือมาทำให้เกิดประโยชน์
→ คุณธรรม จริยธรรม
     - การตรงต่อเวลา
      - ความรับผิดชอบ

การประเมินผล
ประเมินตัวเอง :  วันนี้ตั้งใจฟังและตอบคำถามดี
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆ ทุกคน  ช่วยกันตอบคำถามและฟังที่เพื่อนนำเสนอสื่อกันดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำเเนะนำพร้อมบอกรายละเอียดได้เข้าใจดี